วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Tour de france

ตูร์เดอฟรองซ์ (ฝรั่งเศส: Tour de France หมายถึง การท่องฝรั่งเศส) หรือบางครั้งเรียกว่า ลากรองด์บูกล์ (La Grande Boucle) และ เลอตูร์ (Le Tour) เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน (เว้นการจัดแข่งขันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง)
ตูร์เดอฟรองซ์ เป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการใหญ่ ที่จัดการแข่งขันในยุโรป รวมเรียกว่า แกรนด์ทัวร์ โดยอีกสองรายการคือ

• จีโรดีตาเลีย (Giro d'Italia) จัดในอิตาลี ช่วงเดือนพฤษภาคม-ต้นมิถุนายน
• วูเอลตาอาเอสปันญา (Vuelta a España) จัดในสเปน ช่วงเดือนกันยายน

การแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1903 เกิดขึ้นเนื่องจากการท้าทายกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ โลโต้ (L'Auto) มีนักแข่งเข้าร่วมจำนวนถึง 60 คน แต่สามารถเข้าเส้นชัยได้เพียง 21 คน ซึ่งกิตติศัพท์ของความยากลำบากในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันนี้เป็นที่สนใจ และมีผู้ชมการแข่งขันช่วงสุดท้ายในกรุงปารีส ตามสองฟากถนนระหว่างทางราว 100,000 คน และกลายเป็นประเพณี ที่การแข่งขันทุกครั้งจะไปสิ้นสุดที่ประตูชัย จตุรัสเดอเลตวล ปารีส

ในปี ค.ศ. 1910 เริ่มมีการจัดเส้นทางแข่งขันเข้าไปในเขตเทือกเขาแอลป์ ปัจจุบันเส้นทางการแข่งขันจะผ่านทั้งเทือกเขาแอลป์ ทางตะวันออก และเทือกเขาพีเรนีสทางใต้ของฝรั่งเศส

การแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์จะแบ่งเป็นช่วง (stage) เพื่อเก็บคะแนนสะสม ผู้ชนะในแต่ละช่วงจะได้รับเสื้อ (jersey) เพื่อสวมใส่ในวันต่อไป โดยมีสีเฉพาะสำหรับผู้ชนะในแต่ละประเภท คือ



สีเหลือง (maillot jaune - yellow jersey) สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด




สีเขียว (maillot vert - green jersey) สำหรับผู้ชนะในแต่ละสเตจ




สีขาวลายจุดสีแดง (maillot à pois rouges - polka dot jersey) สำหรับผู้ชนะในเขตภูเขา ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า จ้าวภูเขา King of the Mountains




สีขาว (maillot blanc - white jersey) สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด ที่อายุต่ำกว่า 25 ปี




สีรุ้ง (maillot arc-en-ciel - rainbow jersey) สำหรับผู้ชนะการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลก (World Cycling Championship) ซึ่งมีกฏว่าจะต้องใส่เสื้อนี้เมื่อแข่งขันในประเภทเดียวกับที่ผู้แข่งนั้นเป็นแชมป์โลกอยู่




เสื้อแบบพิเศษ สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด และชนะการแข่งขันช่วงย่อย และจ้าวภูเขา


รายชื่อผู้ชนะเลิศ ตั้งเเต่เริ่มมีการเเข่งขัน - ค.ศ.2008



*ภาษาอังกฤษ


แลนซ์ อาร์มสตรอง นักแข่งจักรยานชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่ชนะการแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์มากที่สุด คือ 7 สมัยติดต่อกัน รองมาคือ มีเกล อินดูเรน (สเปน) ชนะ 5 สมัยติดต่อกัน แบร์นาร์ อีโนล (ฝรั่งเศส) ชาก อองเกอตีล (ฝรั่งเศส) และเอดดี เมิกซ์ (เบลเยียม) ชนะคนละ 5 สมัย


ในปี 2007 บียานร์น รีส์ ยอมรับว่าได้ใช้สารกระตุ้นระหว่างการแข่งขันทำให้ผู้จัดการแข่งขันปฏิเสธที่จะยอมรับสถานะผู้ชนะเลิศของเขา ทว่าสหพันธ์จักรยานสากล (Union Cycliste Internatinale - UCI) แถลงว่าหมดเวลาที่จะตัดสิทธิ์เขาจากการเป็นผู้ชนะเลิศ จึงเพียงแต่ขอร้องให้เขาคืนเสื้อสีเหลืองที่แสดงสถานะของการเป็นผู้ชนะเลิศ

ข้อมูลเบื้องต้น ตูร์เดอฟรองซ์ (Tour de France)
ชื่อท้องถิ่น เลอตูร์เดอฟรองซ์(Le Tour de France)
ภูมิภาค ฝรั่งเศสและประเทศใกล้เคียง
วันที่เเข่งขัน วันที่ 7 ถึง 29 กรกฎาคม (ค.ศ. 2007)
ประเภท Stage Race (Grand Tour)
General Director กริสตียอง ปรูดอม
แข่งขันครั้งแรก ค.ศ. 1903 (พ.ศ. 2446)
จำนวนการแข่งขัน 94 (ค.ศ. 2007)
ผู้ชนะคนแรก โมรีซ กาแรง
ชนะมากที่สุด แลนซ์ อาร์มสตรอง (7) ค.ศ. 1999-2005
ผู้ชนะล่าสุด อัลเบอร์โต คอนทาดอร์ (2007)
Most career Yellow Jerseys เอดดี เมิกซ์ (96) (111 overall incl. half stages)
ชนะแต่ละช่วงมากที่สุด เอดดี เมิกซ์ (34)

Tour de france 2009

แผนที่

http://www.letour.fr/2009/TDF/COURSE/docs/tourParcoursGlobal.pdf

เว็บไซด์อย่างเป็นทางการ

http://www.letour.fr/


• เพิ่มเติม

แลนซ์ อาร์มสตรอง (Lance Armstrong)

แลนซ์ อาร์มสตรอง (Lance Armstrong) เกิดวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1971 ที่มลรัฐเท็กซัส เป็นนักแข่งจักรยานชาวอเมริกัน เจ้าของแชมป์การแข่งขันทูร์ เดอ ฟรองซ์ ติดต่อกัน 7 สมัย ในช่วงปี ค.ศ. 1999 - ค.ศ. 2005 และเป็นแชมป์โลก ประจำปี ค.ศ. 1993 เมื่ออายุเพียง 21 ปี

แลนซ์​อาร์มสตรอง ป่วยเป็นโรคมะเร็งที่สมอง ปอด และอัณฑะ เมื่อ ค.ศ. 1996 เขามีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในการเอาชนะโรคมะเร็งและกลับมาแข่งจักรยานได้อีกครั้ง นอกจากนี้เขายังริเริ่มการออกสายรัดข้อมือ (Wristband) ที่สลักคำว่า "Livestrong" (ที่หมายความว่า มีชีวิตอยู่อย่างเข้มแข็ง) เพื่อหาเงินช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งผ่าน มูลนิธิแลนซ์ อาร์มสตรอง ร่วมกับไนกี้

เอื้อเฟื้อข้อมูล th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น: